๑. ชื่อผลงาน : STEM+C กับการพัฒนาอาชีพ หวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ
๒. หน่วยงาน/สถานศึกษา : กศน.ตำบลพระหลวง อำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่
๓. คณะทำงาน : นางวรรณี กันฉิ่ง ครูอาสาสมัครฯ, นางสาวเมทินี ฉิมภารส ครู กศน.ตำบล
๔. ความสอดคล้อง : แผนงาน : บูรณาการ การยกระดับคุณภาพการศึกษาและ การเรียนรู้ตลอดชีวิต โครงการขยายโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต กิจกรรมส่งเสริม ศูนย์ฝึกอาชีพชุมชน งบรายจ่ายอื่น
๕.ที่มาและความสำคัญของผลงาน
อำเภอสูงเม่นเป็นชุมชนเมืองที่มีวัฒนธรรมและประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นเมืองธัมม์โบราณที่มีคัมภีร์ภาษาล้านนาแห่งเดียวในโลก เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้สักซึ่งเป็นหัตถกรรมเชิงพาณิชย์ ของจังหวัดแพร่ ที่สร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้ผู้ประกอบการและผู้ผลิต ขณะเดียวกันยังมีงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่ออีกอย่าง คือ จักสานไม้ไผ่ เป็นหัตถกรรมพื้นบ้านที่แสดงถึงภูมิปัญญาเก่าแก่ ใช้วัสดุท้องถิ่น ผลิตเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในวิถีขีวิตประจำวัน เช่น กระติ๊บข้าว หวดนึ่งข้าว และอื่นๆ ซึ่งเป็นงานหัตถกรรมจักสานที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาที่สำคัญของพื้นบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การนำวัสดุธรรมชาติ มาประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตยุคปัจจุบันได้อย่างผสมกลมกลืน มีกระบวนการผลิตและการออกแบบจากรูปทรงวัฒนธรรมพื้นบ้านกับแนวคิดเกี่ยวกับการใช้สอยประโยชน์
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเม่น จังหวัดแพร่ เป็นสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดแพร่ รับผิดชอบการจัด ส่งเสริม และสนับสนุนการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่อำเภอสูงเม่น 12 ตำบล 110 หมู่บ้าน ให้สอดคล้องกับนโยบายเร่งด่วนเพื่อร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคนให้มีคุณภาพ การส่งเสริมให้มีการจัดการเรียนการสอนแบบ “สะเต็มศึกษา” (STEM Education) สำหรับผู้เรียนและประชาชน โดยบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ควบคู่กับเทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ เพื่อประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน พัฒนาทักษะชีวิต สู่การประกอบอาชีพ
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสูงเม่น ได้เล็งเห็นศักยภาพ และ ความสำคัญของวัฒนธรรม ประเพณี และอาชีพดั้งเดิมของชุมชน จึงนำรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้สะเต็มศึกษามาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาอาชีพให้คนในชุมชน โดยให้คนและชุมชนเข้ามามี ส่วนร่วมและมีบทบาทในการเรียนรู้ให้มากที่สุด นำหัตถกรรม จักสานไม้ไผ่ที่เกิดจากภูมิปัญญามาผสมผสาน ผนวกเข้ากับเทคโนโลยีปัจจุบันได้อย่างผสมกลมกลืน สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ได้
๖.วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะในการจักสาน
๒. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานได้
๓. เพื่อให้ผู้เรียน มีคุณธรรม จริยธรรม และจิตสานึกความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชนและสังคม
๗. วิธีดำเนินการ
๗.๑ กลุ่มเป้าหมาย ประชาชนตำบลพระหลวง
๗.๒ การดำเนินการจัด กิจกรรม
๗.๒.๑ ร่วมกับชุมชนร่วมกันศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ โดยการจัดเวทีประชาคม จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ ทำให้ทราบว่าชุมชนมีภูมิปัญญาที่มีความชำนาญด้านการจักสาน
๗.๒.๒ ประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ชี้แจง วัตถุประสงค์ ผลที่ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับ ทำให้ผู้มีผู้สนใจเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน ๒๐ คน
๗.๒.๓ ศึกษาเอกสารข้อมูลเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชำในชุมชนและการดำเนินการเพื่อกศน.ตำบล จัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์และวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียน
๗.๒.๔ ครูและผู้เรียนร่วมกันกำหนดทิศทางการดำเนินงานและข้อตกลง เพื่อจะรับ
สินค้าจากชุมชนในราคาที่เหมาะสม
๗.๒.๕ จัดกิจกรรมส่งเสริมอาชีพโดยให้ความรู้ผู้เรียนเรื่องการจักสาน โดยเน้นให้มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและได้รูปแบบที่สอดคล้องตามความต้องการของกลุ่มผู้ซื้อ
๗.๒.๖ ปลูกฝังจิตสำนึกให้รู้จักประหยัด อดออม พึ่งพาตนเอง รักและเห็นคุณค่ารวมถึงประโยชน์ของธรรมชาติ
๗.๒.๗ สรุปผลการดำเนินงาน ติดตามประเมินผลเมื่อสิ้นสุดโครงการ
๘.ตัวชี้วัดความสำเร็จ
๑. ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจ และมีทักษะในการจักสาน
๒. ผู้เรียนสามารถพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จักสานเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน
๙.การประเมินผลและเครื่องมือการประเมินผล
ประเมินผลจากชิ้นงานจักสาน ตามสภาพจริง ประเมินความรู้ ความเข้าใจจากการสอบปากเปล่า และผลตอบรับจากการขายสินค้าหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ
๑๐. ผลการดำเนินงาน
๑๐.๑ ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและทักษะด้านการจักสาน สามารถพัฒนารูปแบบลวดลายเครื่องจักสานโดยประยุกต์รูปแบบลวดลายเข้ากับรูปแบบดั้งเดิมของเครื่องจักสาน
๑๑. บทสรุป
ผลงานชิ้นงาน STEM+C กับการพัฒนาอาชีพ หวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ ตามดำเนินการตามแนวทางวงจรคุณภาพของเดมมิ่ง ( Deming Cycle : PDCA ) ดังนี้
1. ศึกษาสภาพ ปัญหา และวิเคราะห์ข้อมูลของชุมชนอย่งมีส่วนร่วมของครู ผู้เรียนและชุมชน โดยการร่วมเวทีประชาคมเพื่อนำมาวางแผนจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับสภาพบริบท ศักยภาพของชุมชน ปัญหา และความต้องการที่แท้จริงของผู้เรียนและคนในชุมชน
๒. วิเคราะห์งานตามบทบาทหน้าที่และวิเคราะห์ความสอดคล้องที่เกี่ยวข้อง
๓. ค้นหา BEST Practice โดยพิจารณาประเด็น ดังนี้
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับภารกิจโดยตรงของบทบาทหน้าที่ สนองนโยบาย การแก้ปัญหา การพัฒนาประสิทธิภาพของผู้เรียน กศน. เป็นวิธีการริเริ่มสร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ หรือประยุกต์ขึ้นใหม่ (นวัตกรรม)
ด้านวิทยาศาสตร์
ขั้นระบุปัญหา
๑. การนึ่งข้าวตามวิถีการดำเนินชีวิตดั้งเดิม มักจะเกิดปัญหาน้ำแห้ง ข้าวไหม้
๒. การดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบัน อยู่ในภาวะเร่งด่วนมีข้อจำกัดของเวลา
ขั้นสมมติฐาน
๑. จากสภาพปัญหาจึงได้คิดหาวิธี นึ่งข้าวเหนียวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าโดยนำภูมิปัญญามาใช้ในการออกแบบ ดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์นึ่งข้าว
๒. การนึ่งข้าวเหนียวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้าสามารถประหยัดเวลาเหมาะสำหรับคนทำงานในยุคสังคมปัจจุบัน
ขั้นรวมรวบข้อมูล
๑. ออกแบบรูปทรง ผลิตหวดนึ่งข้าวให้มีรูปทรงที่เหมาะสมกับขนาดของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าโดยภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านจักสาน
๒. นำหวดนึ่งข้าวไปทดลองใช้นึ่งข้าว และอุ่นข้าวในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ขั้นทดลองและวิเคราะห์
นำหวดนึ่งข้าวไปทดลองนึ่งและอุ่นข้าวเหนียวด้วยหม้อหุงข้าวไฟฟ้า
ขั้นสรุปผล
จากการนำหวดนึ่งข้าวไปนึ่งในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ผลที่ได้พบว่า
๑. หวดนึ่งข้าวสามารถใช้นึ่งข้าวได้ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าภายในเวลา 20 – 25 นาที ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ข้าว
๒. สามารถอุ่นข้าวและอุ่นอาหารต่างๆในหวดนึ่งข้าวได้ตลอดเวลา
๓. สามารถนึ่งข้าว ไปพร้อมกับการทำงานอื่นๆไปด้วย โดยไม่มีปัญหาน้ำแห้ง หรือ ข้าวไหม้
– ลดค่าใช้จ่ายหรือลดปัญหาถ่านหมด แก๊สหมดได้
ด้านเทคโนโลยี
การนำหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใช้ในการนึ่งข้าวเหนียวจากหวดนึ่งข้าว
ด้านวิศวกรรมศาสตร์
การได้ผลงานนวัตกรรมใหม่ๆจากการสานหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ
ด้านคณิตศาสตร์
– จำนวนเส้นของเส้นตอกที่ใช้ในการสานหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติขึ้นอยู่กับปริมาณบรรจุของหม้อหุงข้าวไฟฟ้าแต่ละขนาด เช่น ขนาดบรรจุ ๐.๕ ลิตร ใช้ตอก ๑๔๘ เส้น ขนาดบรรจุ ๑ ลิตร ใช้ตอก ๑๘๐ เส้น ขนาดบรรจุ ๑.๕ ลิตร ใช้ตอก ๒๐๐ เส้น
– ความยาวของเส้นตอก ขนาด ๒๓ เซนติเมตรเท่ากันทุกขนาด
องค์ความรู้วิชาการของศาสตร์ทั้งสี่ด้านที่มีความเชื่อมโยงกันในโลกปัจจุบันที่ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆมาบูรณาการเข้าด้วยกันในการดำเนินชีวิตประจำวันและสามารถทำให้ได้นวัตกรรมใหม่ๆจากภูมิปัญญาชาวบ้าน
วิธีการนำไปใช้
๑. แช่ข้าวเหนียวที่จะนำไปนึ่งไว้ค้างคืนจำนวน ๑ คืน
๒. น้ำข้าวเหนียวไปล้างเพื่อความสะอาด
๓. นำข้าวเหนียวใส่ในหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ
๔. ใส่น้ำในหม้อหุงข้าวประมาณสองข้อมือ(นิ้วชี้)หรือประมาณครึ่งขาหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติ
๕. เสียบหม้อหุงข้าวแล้วกดปุ่มเหมือนหุงข้าว รอประมาณ ๒๐-๒๕ นาที ข้าวเหนียวสุกใช้ทานได้ตามสะดวกสบาย
๖. สามารถใช้หวดนึ่งข้าวอัตโนมัติอุ่นอาหารในหม้อหุงข้าวได้ตามสะดวกเพื่อประหยัดระยะเวลาการใช้แก๊ส
ขนาดมาตรฐาน ๓ ขนาด
๑ ลิตร, ๑.๕ ลิตร (ขนาดหม้อไซด์มาตรฐาน ), ๑.๘ ลิตร
การดูแลรักษา
– หลังการใช้หวดนึ่งข้าวแล้วนำไปล้างน้ำให้สะอาดผึ่งให้แห้งป้องกันการเกิดเชื้อรา
– ไม่ควรเก็บหวดนึ่งข้าวอัตโนมัติไว้ในที่ชื้น